หลุมขุดค้นที่ 1 ของ แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง

หลังจากมีการค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกที่ห้วยประตูตีหมาในปี พ.ศ. 2519 แล้ว กรมทรัพยากรธรณีได้ดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมจนพบหลุมขุดค้นที่ 1 บนภูประตูตีหมาในปี พ.ศ. 2525 พบเป็นกระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอดซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่หลายชิ้น คัดเลือกเป็นกระดูกต้นแบบได้ 21 ชิ้น วินิจฉัยได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดสกุลและชนิดใหม่ ได้รับการตั้งชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน เพื่อเทอดพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

นอกจากนี้แล้วยังมีการค้นพบไดโนเสาร์อีก 3 ชนิด คือ ฟัน 9 ซี่ที่มีลักษณะเป็นรูปกรวยโค้งเล็กน้อยคล้ายฟันจระเข้แต่บนพื้นผิวของฟันมีลายนูนเป็นเส้นตามแนวความยาวของซี่ฟัน ลักษณะดังกล่าวไม่เคยค้นพบมาก่อน และจัดให้เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มสไปโนซอร์สกุลและชนิดใหม่ ได้รับการตั้งชื่อว่า สยามโมซอรัส สุธีธรนี ซึ่งในภายหลังมีการค้บพบฟันลักษณะดังกล่าวอีกหลายแห่ง

ในหลุมขุดค้นที่ 1 ยังมีการค้นพบกระดูกของไดโนเสาร์อีก 2 สกุลที่ยังวินิจฉัยชนิดไม่ได้ คือไดโนเสาร์คล้ายนกกระจอกเทศสกุล กินรีไมมัส และ คอมพ์ซอกเนธัส ถือได้ว่าหลุมขุดค้นที่ 1 พบไดโนเสาร์หลากหลายสายพันธุ์

ใกล้เคียง

แหล่งมรดกโลก แหล่งจ่ายไฟ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ แหล่งคริสเตียนลับในภูมิภาคนางาซากิ แหล่งแร่ดีบุกในประเทศไทย แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง แหล่งไดโนเสาร์โคกผาส้วม แหล่งน้ำ